EP05 #งานเหล็ก…..

เมื่องาน 3D ผ่านไปแล้วขั้นตอนต่อไปก็ลงมือทำจริงกับเหล็กเลยครับ สนุกสนานแน่ๆครับ ปะตามไปดูกันครับบ

ก่อนอื่นต้องอธบิายก่อนว่าการทำขั้นตอนนี้สิ่งที่จำเป็นต้องมีคือ

  1. Machine Shop เพราะต้องตัดเหล็ก เชื่อมเหล็ก ปาด เจาะ ตัด เชือม เจียร พ่นสี เคาะ ตามประสาช่างกลโรงงานมือเปื้อนน้ำมันดำปิ๊ดปี๋ ผมไปทำที่ Shopน้องชายผม น้องเปี๊ยกเมืองชลคนอันตราย 55
    https://www.facebook.com/support.engineering สนใจจะเชื่อมประกอบอะไรติดต่อน้องเค้าได้เลยครับ กำเงินไปอย่างเดียวน้องเค้าเสกได้
  2. CAM software ในที่นี้ผมใช้ SOLIDWORKSCAM เพราะตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นของงานสร้างเครื่องจักร ใช้ง่ายจนง่ายและง่าย 555 เอาง่ายๆคือมันง่ายจริงๆ
  3. นึกออกแค่นั้น ไปทำกันเลยละกัน

Cutting Plan

อย่ารีบร้อนสั่งเหล็ก…. ทำCutting Plan ดีๆก่อนเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสั่งเหล็กกี่แผ่นหลีกเลี่ยงการสั่งของขาดเพราะเสียเวลาในการรอ โปรแกรมช่วยเดี๋ยวนี้เยอะแยะไปหมด ผมใช้ FastCAM ช่วยเพราะเครื่องตัดที่น้องเปี๊ยกใช้มีให้ เสียดายไม่ได้เซฟรูปไว้ขั้นตอนนี้

Cutting

ถ้ามั่นใจก็บรรเลงกันเลยครับ 4 x 8 ฟุต เต็มๆ

เอามาเจียรเก็บขอบให้เรียบร้อยโดยทีมงานเปี๊ยก คนเดิม และประกอบตามแบที่เราเขียนส่งไปให้ ว่าแล้วเชียวว่าเราลืมอะไร ลืมแนะนำการใช้ SOLIDWORKS เขียนแบบ 2D ไว้ตอนหน้าละกันเนอะ

Fabrication

CAM กันก่อน

เมื่อตัดประกอบเชื่อมเรียบร้อยก็มาถึงขั้นตอนสำคัญคือการปาดเจาะกัดชิ้นงานเพื่อใส่ Linear guild งานนี้ SOLIDWORKSCAM เป็นพระเอก เอ๊ะไม่ใช่ซิต้องป็นผมเองนี่และเป็นพระเอก ฮ่าๆๆ

เปิดตัวไปใน SOLIDWORKS2018 กับเจ้า SOLIDWORKSCAM ตัวนี้เกิดมาจากค่ายดังคือ CAMWORKS ปลั๊กอินที่มีมานานมากๆเกี่ยวกับงาน CAM โดยมีครบทุกๆอย่างเกี่ยวกับงาน CAM แต่ในส่วนของ SOLIDWORKSCAM นั้นมีความสามารถทำงานเฉพาะ 2.5D เท่านั้น

ส่วนตัวจากที่ทดลองใช้แล้วก็ชอบเลยครับ เอ๊ะ!!! รักเลยดีกว่าครับเพราะมันใช้งานง่ายมากๆ แต่ตอนแรกที่สัมผัสมีอาการงงๆนิดๆ กว่าจะเข้าใจระบบระเบียบแบบแผนของเจ้า SOLIDWORKSCAMได้ก็ใช้เวลานิดนึง แต่พอเข้าใจแล้ว โอ้โฮ มันแจ่มแมเหมียว จริงๆ

เพราะมีระบบ Technology Database นั้นเองครับ มันทำให้เราสามารถสร้าง GCODEได้ในเวลาไม่กี่พริบตา พริบๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ 555555+ พูดแล้วจะหาว่าโม้ งั้นโม้ต่อเลยละกัน

SOLIDWORKSCAM work flow

  1. สร้าง Feature บอกว่าเราจะทำอะไรเช่น Face ผิว หรือ Pocket หรือจะเจาะรู
  2. สร้าง Operation Plan สร้างขั้นตอนการทำงานเช่น กัดหยาบ กัดละเอียด เจาะรูนำศูนย์
  3. สร้าง Toolpath สร้างทางเดินของทูลต่างๆ

เพียงเท่านั้นก็ได้GCODEไปสั่งเครื่องCNCแล้วจ้า เอาไว้เอาวีดีโอมาลงให้นะครับในส่วนนี้เพราะอธิบายด้วยตัวหนังสือยากและยาวมากๆ

Machine

ได้ CAM มาแล้วก็เอางานไปขึ้นเขียงครับ ให้น้องๆทีมงานช่วยกันแบกช่วยกันยกขึ้นโต๊ะงานเครื่องกัด หนักเอาเรื่องเหมือนกันครับแต่ละชิ้นส่วน

Alignment

หาตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วทำการตั้งแนวกัดให้ขนาดกบเครื่อง ผมใช้ Dial Gauge ช่วยครับ เอาให้ขนาดได้เท่าที่จะทำได้นะครับ

Origin setting

ตั้งจุด X0 Y0 Z0 ให้ตรงกับ CAM ที่ทำมาว่าเราอ้างอิงจากจุดไหนมา เมื่อพร้อมแล้วก็ลุยเลย

กด Cycle Start ได้เลย ยืนลุ้นหน้าเครื่องตอนงานเสร็จ

Z-Axis นอนรอหมดลงมีด

X-Axis

X-Axis

Spindle Head

Pre Assembly

เมื่อทุกชิ้นกัดเรียบร้อยแล้วก็ลองนำมาประกอบรวมร่างกันสักหน่อยครับเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องบางอย่าง ถ้าพบข้อบกพร่องก็ทำการปรับแต่งแก้ไข

หล่อเชียว

สรุปผล

ผ่านไปได้ด้วยดีครับ ด้วยการที่เราใช้งาน 3D นี่และครับข้อดีของงาน 3D ทำให้เราเห็นจุดอับจุดบกพร่องตั้งแต่ออกแบบและเราได้แก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่ามาเจอเอาตอนประกอบร่างจริง

ทำสี

เลือกสีที่อยากได้ ผมเลือกสีฟ้าครับเพราะไม่เหมือนใครดี…….อยากได่สีส้มแต่เดี๋ญวปซ้ำคนอื่น ฮ่าๆๆ

พี่ฟ้ามาแว้ววววว

เป็นรูปเป็นร่างรอประกอบชิ้นส่วนต่างๆ

วันนี้พอก่อนเนอะไว้มาอัพเดทกันอีกใน EP หน้า ไปละครับบบบบ

ผู้เขียน:

ใส่ความเห็น