EP#06 ระบบไฟฟ้า

ครับในเครื่องจักรเราหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้าแน่นอนครับไม่ว่าจะ ไฟฟ้ากำลัง หรือ ไฟฟ้าควบคุม

แต่ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนเลยครับว่า ความรู้ทางด้านนี้ผมน้อยมากๆ เอาเป็นว่าแค่พอต่อตามสัญลักษณ์ได้ ให้คิดวงจรเองนั้นทำได้แต่วงจรง่ายๆไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนะครับ

ไฟฟ้ากำลัง Power Electrical

เป็นระบบไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟหลักเข้าอุปกรณ์ต่างๆให้สามารถสตาร์ทหรือเริ่มการทำงานได้ ไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนัก

ก่อนอื่นเราต้องออกแบบขุ้นตอนต่างๆก่อนเพื่อจะได้รู้ว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

ผมใช้ระบบ Relay เข้ามาเป็นตัวควบคม contact ต่างๆเพื่อจ่ายไฟให้ระบบ โดยมีปุ่ม Start / Stop / Emergency เมื่อกด Start ตัว Relay จะทำงาน ทำให้ contact ทำงานไฟก็สามารถเข้าระบบได้ และเมื่อกด Stop ก็จะทำการตัดกระแสไฟที่เข้า Relay ออก contact ก็จะจากออกจากกัน ไฟฟ้าก็จะถูกตัดออกจากระบบ หากเกิดฉุกเฉินอะไรก็ตบ Emergency เพื่อหยุดทุกอย่างได้ทันทีเช่นเดียวกัน ลืมไปว่ามีไฟแสดงสถานะด้วยนะครับ

หากหน้า Contact มีไม่พอก็ทำการเพิ่มจำนวนของ Relay เข้าไป

Relay

หน้าตาตู้ประมานนี้ครับ

ระบบไฟฟ้าควบคุม Electrical Control

ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น ระบบPower draw bar / Valveต่างๆที่ควบคุมระบบลมต่างๆ ระบบเปลี่ยนทูลต่างๆ

ในส่วนนี้ทำไม่ยากมากนักครับ เพราะว่าController ที่ใช้นั้นมีสายสัญญาณออกมาเยอะมากๆ เลือกใช้สายให้ตรงกับคู่มือและอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมได้ง่ายๆ นี่คือข้อดีของการใช้ Controller ประเภทนี้ครับ เราแค่เอาสายสัญญาณที่ออกจาก Controller มาเสียบขาเข้าของ Relay module ได้เลยง่ายมากๆ ส่วนจะใช้ Active Hi / Low ก็ปรับเอาที่ Relay module ได้เลยครับ

สายที่มาจากController

ความยากมันอยู่ตรงที่ผมเองก็มือใหม่หัดขับซะด้วยนี่และครับ เดินแรกๆนี่ยังกะเส้นก๋วยเเตี๋ยว ยุ่งเหยิงมากๆ เส้นไหนเป็นเส้นไหนไมู่้ทีนี้ งงไปหมด นอกจากคิดวงจรยากแล้ว สิ่งที่ยากกว่านั้นคือการรวบสายไฟนี่และครับ 555

เวอร์ชั่นชั่วคราว……

เมื่อเราทดลองเราก็ทำการต่อแบบชั่วคราว…. เพื่อเทสระบบทั้งหมดให้สมบรูณ์ก่อนจึงรื้อออกเพื่อทำการเดินสายเข้าท่อเก็บเข้ารางใส่สายรัดให้เรียบร้อยทีหลัง เพราะถ้าเก็บใส่ท้อร้อยสายไฟแต่แรกก็เกรงว่าจะไม่จบง่ายเพราะต้องถอดเข้าถอดออกอย่างแน่นอน……

กว่าจะบรรลุ เล่นกันเมื่อยหลังเลยทีเดียว

เมื่อเสร็จและทดสอบระบบโดยรวมผ่านแล้วก็mark สายให้เรียบร้อยสวยงานดูดีมีชาติตระกลู 555

หลังจากเวอร์ชั่นเอาจริง…..ดูเป็นผู้เป็นคนขึ้นมาหน่อย

Sensor (Proximity) ลิมิตสวิช

เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวนึง มีหน้าที่ป้องกันเครื่องวิ่งทะลุระยะที่บอลสกรูหรือหลุดระยะLinear Guide เกิดความเสียหายให้กับชิ้นส่วนเครื่องจักรเราได้ ผมเลือกใช้ Proximity เป็นตัวจับโลหะ เมื่อมีโลหะเข้ามาใก้ลๆหน้าเซนเซอร์มันจะส่งสัญญาณไปที่controllerว่าสุดระยะอย่าวิ่งต่อน่ะเดี๋ญวพัง!!!!! และมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างก็คือกำหนดจุดที่เรียกว่าบ้าน หรือ Home ประจำแต่ละแกนด้วย

ทีนี้ไปดูการเชื่อมต่อระหว่างตู้คอนโทลไปที่ตัวเครื่องกันบ้างครับ มีทั้งเวอร์ชั่นก่อนและหลังเช่นกันครับ……

ผู้เขียน:

ใส่ความเห็น